สมัครบอลออนไลน์ พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมขนาดใหญ่และขนาดกลางและผลิตจำหน่ายทั้งภายในและภายนอกประเทศได้ เป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนที่สร้างรายได้ให้กับชุมชนชาวประมงที่ใช้วัตถุดิบจากท้องถิ่นในกระบวนการผลิต ใช้ในการประกอบเป็นอาหารได้หลายอย่าง เช่น ไข่เยี่ยวม้าทรงเครื่อง ผัดไข่เยี่ยวม้ากะเพรากรอบ ยำไข่เยี่ยวม้า หรือรับประทานสด จึงเป็นอาหารยอดนิยมที่เหมาะสมสำหรับผู้บริโภคทุกเพศและทุกวัย เป็นผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก และใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา
สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ผศ.ดร.ชุตินุช สุจริต สาขาอุตสาหกรรมอาหารและผลิตภัณฑ์ประมง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง (มทร.ศรีวิชัย) โทรศัพท์
“ตำบลขนาบนาก” อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นพื้นที่ปลายน้ำอยู่ติดทะเลอ่าวไทย มีแหล่งน้ำธรรมชาติที่ชาวบ้านเรียกว่า คลองหัวไทร และคลองหน้าโกฏิ ซึ่งเป็นคลองขุดใหม่เชื่อมต่อชายฝั่งทะเล ทำให้ตำบลขนาบนากมีแหล่งน้ำ 3 ชนิด ในพื้นที่เดียวกัน คือ น้ำจืด น้ำเค็ม และน้ำกร่อย อาชีพหลักดั้งเดิมของชาวตำบลขนาบนากคือ การทำนา กับการทำไร่ จากช่วงปี พ.ศ. 2530 เกิดกระแสการเลี้ยงกุ้งทะเลในบ่อเชิงอุตสาหกรรมทำให้พื้นที่ทำนาและพื้นที่ไร่จาก ถูกปรับเปลี่ยนกลายเป็นบ่อเลี้ยงกุ้งทะเลจำนวนมาก หลังจากประสบปัญหาการเลี้ยงกุ้งทะเลล้มเหลว ชาวบ้านก็หันกลับมาทำไร่จากอีกครั้ง
ภายหลังรัฐบาลได้ดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังฯ ทำให้ชาวขนาบนากหันมาทำอาชีพเกษตรกรรมหลากหลายรูปแบบมากขึ้น ได้แก่ การทำนา การทำไร่จาก การเลี้ยงกุ้งทะเลในบ่อและการทำประมงในลำน้ำ ซึ่งชาวบ้านแต่ละกลุ่มมีความต้องการใช้น้ำไม่สอดคล้องกัน ชาวนาต้องการน้ำจืด ไร่จากต้องการน้ำกร่อย ส่วนฟาร์มกุ้งทะเลและทำประมงในลำน้ำต้องการน้ำเค็ม ชาวไร่จากจึงทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอให้สร้างโซนน้ำกร่อยสำหรับไร่จากโดยเฉพาะไร่จากที่อยู่ในเขตน้ำเค็ม เพราะน้ำเค็มจัดทำให้ ต้นจาก ให้ปริมาณผลผลิตน้ำตาลจากลดลง และต้นจากอาจจะตายได้
ศูนย์อำนวยการและประสานการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังฯ และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ร่วมวางแนวทางป้องกันไม่ให้น้ำเค็มเข้าท่วมพื้นที่ไร่จากในช่วงที่น้ำเค็มจัด ช่วยระบายน้ำในพื้นที่ไร่จากช่วงฤดูน้ำหลาก และกำหนดรูปแบบการจัดการน้ำและข้อตกลงในการบริหารทรัพยากรน้ำทั้ง 5 สายคลองร่วมกัน โดยใช้ชื่อว่า “ปฏิญญาขนาบนาก” ว่าด้วยการบริหารจัดการน้ำ 2552 นำไปสู่การพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมอย่างมั่นคงยั่งยืน
ปัจจุบัน ตำบลขนาบนาก ทำอาชีพเกษตรกรรมหลากหลาย ได้แก่
อาชีพทำนา เนื้อที่ 2,716 ไร่ จำนวน 114 ครอบครัว ส่วนใหญ่ปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมือง (พันธุ์ข้าวกาบดำ) ไว้บริโภคและขายในชุมชน
อาชีพทำไร่จาก เนื้อที่ 4,578 ไร่ จำนวน 476 ครัวเรือน ผลผลิตเป็นน้ำตาลจากจำหน่ายทั้งในและนอกพื้นที่
อาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง (กุ้ง, ปลา) เนื้อที่ 1,487.35 ไร่ จำนวน 190 ครัวเรือน
อาชีพประมงในลำน้ำและชายฝั่ง จำนวน 15 ครัวเรือน
คุณเกษร ธานีรัตน์ ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนครศรีธรรมราช (สำนักงาน กศน. จังหวัดนครศรีธรรมราช) และ คุณสุรศักดิ์ อนันต์ ผู้อำนวยการ กศน. อำเภอปากพนัง พาทีมงานเทคโนโลยีชาวบ้านเข้าไปเยี่ยมชมวิถีชีวิตเกษตรกรผู้ปลูกและแปรรูปน้ำตาลจาก ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปน้ำตาลจาก ตำบลขนาบนาก ซึ่ง กศน. ตำบลขนาบนาก และ กศน. อำเภอปากพนัง เข้าไปสนับสนุนกิจกรรมอบรมอาชีพเรื่องการแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มน้ำตาลจาก และช่วยปรับปรุงบรรจุภัณฑ์สินค้าให้ทันสมัย รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาเรื่องขยายตลาดสินค้าผ่านช่องทางตลาดออนไลน์ กศน. (OOCC)
คุณเกษร ธานีรัตน์ ผู้อำนวยการ สำนักงาน กศน. จังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า “ ต้นจาก” เป็นพืชท้องถิ่นที่ชาวบ้านนำมาใช้ประโยชน์หลากหลายรูปแบบ เช่น “ใบจาก” มาเย็บเป็นตับใช้มุงหลังคา หรือกั้นฝาบ้าน “ยอดจากอ่อน” ใช้มวนยาสูบ “ลูกจาก” ใช้ทำขนมหวาน “งวงจาก” ให้น้ำหวาน นำมาแปรรูปเป็นน้ำตาลจาก น้ำส้มจาก เป็นต้น
- สมัครบอลสเต็ป2 เว็บแทงบอลสเต็ป2 เว็บบอลสเต็ป2 บอลสเต็ป2
- สมัครยูฟ่าเบท สมัครเว็บ UFABET สมัครแทงบอล UFABET เว็บยูฟ่า
- สมัครเว็บสล็อต สมัครเล่นเกมสล็อต สมัครเว็บ Slot สมัครปั่นสล็อต
- สมัครเว็บแทงบอล สมัครเว็บเล่นบอล สมัครบอลออนไลน์ พนันบอล
- สมัครยิงปลา สมัครเกมส์ยิงปลา สมัครเล่นเกมยิงปลา ยิงปลาจีคลับ
คุณสุรศักดิ์ อนันต์ ผู้อำนวยการ กศน. อำเภอปากพนัง กล่าวว่า เกษตรกรในชุมชนตำบลขนาบนาก อำเภอปากพนัง ปลูกต้นจากในพื้นที่บ่อกุ้งร้าง การทำตาลจาก หรือ “ทำตาล” เดิมชาวบ้านจะแปรรูปน้ำตาลจากหรือน้ำผึ้งจาก โดยเคี่ยวเป็นน้ำผึ้งใส น้ำผึ้งข้น และผลิตเป็นน้ำตาลปี๊บ รายได้รองลงมาคือ เย็บจาก การทำน้ำส้มจาก และตัดยอดจากเพื่อทำใบจากม้วนบุหรี่ ทาง กศน. เข้ามาสนับสนุนองค์ความรู้เรื่องการแปรรูปน้ำตาลในลักษณะน้ำตาลชนิดเม็ด น้ำตาลจากชนิดผง ฯลฯ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้า และเพิ่มโอกาสในการขายผ่านช่องทางตลาดออนไลน์ (OOCC)
วิสาหกิจชุมชนแปรรูปน้ำตาลจาก
คุณกวี จันทษี ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปน้ำตาลจาก ตำบลขนาบนาก ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 45 หมู่ที่ 2 ตำบลขนาบนาก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช (โทร. 089-909-6728) เล่าให้ฟังว่า เดิมชาวบ้านผลิตน้ำตาลจากแบบเหลว แต่ปัจจุบัน ทางกลุ่มแปรรูปน้ำตาลจากหลากหลายรูปแบบ ในลักษณะน้ำตาลปึก น้ำตาลสด น้ำตาลปี๊บ และ “น้ำตาลจากแบบผง” เป็นสินค้าตัวใหม่ที่ กศน. ตำบลขนาบนาก และ กศน. อำเภอปากพนัง เข้ามาสนับสนุนองค์ความรู้เรื่องการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
น้ำตาลจากชนิดผง เป็นสินค้าใหม่ที่มีอนาคตสดใส เพราะสามารถนำไปใช้ผสมเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ ฯลฯ เพิ่มรสชาติความหวานอร่อยให้แก่เครื่องดื่มได้หลากหลายชนิด การผลิตน้ำตาลจากแบบผง จำหน่ายได้ในราคากิโลกรัมละ 120 บาท หักต้นทุนแล้ว ยังเหลือผลกำไรกิโลกรัมละ 60-70 บาท การทำไร่จาก มีต้นทุนต่ำ เพราะปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ ไม่ใส่ปุ๋ยใส่ยา ปลอดสารเคมีทุกกระบวนการผลิต ทำให้ปลอดภัยต่อเกษตรกรผู้ปลูกต้นจากและประชาชนที่บริโภคน้ำตาลจาก
ปัจจุบัน ตำบลขนาบนาก มีชาวบ้านทำไร่จากและแปรรูปน้ำตาลจาก ประมาณ 40% ของพื้นที่ คิดเป็นจำนวนประชากรประมาณพันกว่าครัวเรือน ปัจจุบัน ป่าจากในพื้นที่ตำบลขนาบนากที่ให้ผลผลิตแล้ว ประมาณ 4,000 กว่าไร่ สร้างรายได้สะพัดในท้องถิ่น เมื่อปี 2561 ประมาณ 35 ล้านกว่าบาท อาชีพการทำจาก ใช้ต้นทุนน้อย โอกาสการขาดทุนไม่ค่อยมี
ที่ผ่านมา ปริมาณผลผลิตน้ำตาลจาก ที่เข้าสู่ตลาดมีปริมาณไม่แน่นอน ขึ้นกับช่วงฤดูเป็นหลัก โดยทั่วไปช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ เป็นช่วงฤดูที่ต้นจากให้น้ำตาลคุณภาพดีที่สุด และสามารถผลิตน้ำตาลจากได้ในปริมาณมาก ทำให้ชาวบ้านขายผลผลิตได้ในราคาถูกลง เฉลี่ยประมาณ 900 บาท ต่อปี๊บ แต่ช่วงที่มีปริมาณผลผลิตเข้าตลาดน้อย ก็ขายน้ำตาลได้ราคาสูงขึ้น ประมาณ 1,500 บาท ต่อปี๊บ
“ช่วงประเพณีเดือนสิบ ของจังหวัดนครศรีธรรมราชมีการผลิตขนมลาจำนวนมาก โดยใช้น้ำตาลจากเป็นส่วนผสมสำคัญเพื่อเพิ่มรสชาติความหวานและกลิ่นหอมให้กับขนมลา ชาวบ้านก็สามารถทำน้ำตาลจากได้ในราคาสูง” คุณกวีกล่าว
การทำน้ำตาลจากคุณกวี เล่าถึงขั้นตอนการทำน้ำตาลจากว่า เลือกงวงจากที่มีอายุ 5-7 เดือน ความยาวก้านงวงประมาณ 1 เมตร ปอกเปลือกงวงจากทิ้งไว้ 15 วัน หลังจากนั้น จะตีงวงจาก แบ่งการตีงวงเป็น 2 ระยะ รวม 9 มื้อ ระยะที่ 1 ตีงวงจากจำนวน 5 มื้อ โดยตีวันเว้นวัน เมื่อครบ 5 มื้อแล้วหยุดตี 15 วัน ระยะที่ 2 ตีงวงจากต่ออีก 4 มื้อ โดยตีวันเว้นวัน ใช้ไม้ตีงวงจากในแต่ละมื้อประมาณ 30 ครั้ง
เมื่อตีครบ 9 มื้อแล้ว ตัดทะลายออกจากงวง ตอนเย็นใช้มีดปาดหน้างวงจากตามรอยที่ตัดทะลายออกเป็นแว่นบางๆ จำนวน 3 แว่น ใช้กระบอกไม้ไผ่รองรับน้ำหวานที่ไหลออกมา หลังปาดงวง รอจนถึงตอนเช้า ปาดงวงอีก 1 แว่น (ล้างหน้างวง) รอจนถึงเวลา 09.00-11.00 น. เริ่มเก็บกระบอกน้ำหวาน สำหรับกระบอกน้ำหวาน ก่อนนำไปใช้งาน ต้องลวกกระบอกไม้ไผ่โดยใช้น้ำหวานที่ต้มกำลังเดือด เทใส่กระบอกไม้ไผ่แล้วเขย่าให้ทั่ว ใส่ไม้เคี้ยมไว้ในกระบอกไม้ไผ่ก่อนนำไปรองรับน้ำหวานทุกครั้ง
หลังเก็บกระบอกไม้ไผ่ที่รองรับน้ำหวานเสร็จแล้ว ชาวบ้านจะเทน้ำหวานจากกระบอกไม้ไผ่ลงใส่กระทะ โดยผ่านภาชนะกรอง เพื่อกรองไม้เคี่ยมและสิ่งเจือปนออก ต้มน้ำหวานให้เดือดประมาณ 3-4 ชั่วโมง จนมีลักษณะเป็นสีน้ำตาล เหนียวข้น ยกกระทะลงจากเตา ระบายความร้อนออกจากน้ำตาล โดยใช้ไม้โซมน้ำตาล ประมาณ 30 นาที จึงตักน้ำตาลใส่ภาชนะบรรจุ (ปี๊บ)
การปลูกดูแลต้นจาก
โดยธรรมชาติแล้ว ต้นจากจะออกยอดจาก (ทางจาก) เฉลี่ยปีละ 4 ยอด ไร่จากของคุณกวีแห่งนี้มีเนื้อที่ 30 ไร่ เป็นที่ดินมรดกจากรุ่นสู่รุ่น สืบทอดอาชีพการทำไร่จากมาโดยตลอด ต้นจากในสวนแห่งนี้มีอายุหลายร้อยปีแล้ว สมัยก่อนตำบลขนาบนากมีดินดีน้ำดี ต้นจากมีขนาดลำต้นโตมากกว่านี้ สามารถผลิตน้ำตาลจากได้จำนวนมาก แต่ปัจจุบันสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ต้นจากมีขนาดเล็กลงและมีลำต้นเตี้ย จึงได้ปริมาณน้ำตาลจากลดน้อยลงไปด้วย
หากใครอยากรู้ว่า จากต้นไหน มีลักษณะเด่น และให้ปริมาณน้ำตาลมาก คุณกวีแนะนำให้สังเกตจากลักษณะใบ ที่เรียกว่า “หูจาก” หากใบจากมีลักษณะต่ำลง แสดงว่าให้น้ำตาลเยอะ ตอนที่นวดทะลายจาก แค่ออกแรงเล็กน้อย ก็ได้ปริมาณน้ำตาลจากได้ง่ายๆ เพราะทะลายจากดังกล่าวมีปริมาณน้ำตาลเยอะอยู่แล้ว
คุณกวี กล่าวว่า น้ำตาลจาก ของตำบลขนาบนากมีลักษณะเด่นกว่าพื้นที่อื่นๆ เพราะต้นจากปลูกในพื้นที่สามน้ำ ประกอบด้วยน้ำจืด น้ำเค็ม และน้ำกร่อย น้ำตาลจากที่ปลูกในชุมชนแห่งนี้จึงมีรสชาติหวานแหลมและมีปริมาณแอลกอฮอล์มากกว่าต้นจากที่ปลูกในพื้นที่น้ำชนิดเดียว กล่าวได้ว่า ลุ่มน้ำปากพนัง เป็นพื้นที่ที่เหมาะสมปลูกต้นจากสำหรับผลิตน้ำตาลจากมากที่สุด เพราะได้ผลผลิตคุณภาพดี จำนวนมาก ส่วนจังหวัดสมุทรสาครและสมุทรสงคราม แม้มีพื้นที่ปลูกต้นจากจำนวนมาก ซึ่งเป็นสายพันธุ์ชนิดเดียวกับพื้นที่ปากพนัง แต่ต้นจากเหล่านั้นไม่สามารถผลิตน้ำตาลจากได้ เพราะปลูกในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันนั่นเอง
นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า สั่งการปลัดกระทรวงเกษตรฯ และเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เกี่ยวกับการเผยแพร่ข้อมูลหรือคาดการณ์เกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจการเกษตรหรือเผยแพร่เอกสารข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขทางการเกษตรที่มีผลต่อสภาพเศรษฐกิจหรือปริมาณผลผลิตและราคาผลผลิต ขอให้คำนึงถึงความแม่นยำของข้อมูลชนิด ประเภทการทำเกษตรกรรมแต่ละชนิด จำนวนพื้นที่เกษตรกรรมหรือจำนวนเกษตรกร ครอบครัวเกษตรกรต่างๆ ต้องเป็นตัวเลขที่ถูกต้อง โดยให้ตรวจสอบก่อนว่ามีที่มาอย่างไร
ประการสำคัญหากเป็นข้อมูลหรือสถิติที่หน่วยงานของกระทรวงเกษตรฯ รวบรวมไว้ต้องสอบทานให้เป็นข้อมูลเดียวกัน เพื่อไม่ให้ผู้รับข่าวสารหรือรับรายงานไม่เชื่อถือหรือก่อให้เกิดความสับสน และกล่าวหาว่าหน่วยงานของกระทรวงเกษตรฯ บกพร่อง เพราะเป็นหน่วยราชการสังกัดเดียว ตัวเลขยังไม่ตรงกัน เป็นต้น ข้อมูลที่แม่นยำมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อทั้งหน่วยงานในกระทรวงเกษตรฯ และองค์กรต่างๆ
รัฐมนตรีเกษตรฯ กล่าวว่า กรณีวิเคราะห์ข้อมูลหรือคาดการณ์ว่าราคาผลผลิตหรือสภาพเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไรในปัจจุบันและอนาคต เช่น จะเกิดภาวะขาดแคลน ราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ สินค้าล้นตลาดหรือตลาดต้องการสินค้าเกษตรใด ให้ สศก. ระบุด้วยว่าทำอย่างไรกับการคาดการณ์หรือข้อมูลดังกล่าว ได้แก่ มีข้อเสนออย่างไรต่อหน่วยปฏิบัติใช้ส่งเสริมการผลิต หรือหน่วยที่รับผิดชอบแก้ไขปัญหาแล้ว ไม่ควรรายงานหรือวิเคราะห์ออกมาลอยๆ แล้วไม่แจ้งผู้เกี่ยวข้องให้รับไปดำเนินการ
“ต้องวางระบบข้อมูลภาคเกษตรทั้งหมดอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากกระทรวงเกษตรฯ เป็นหน่วยงานหลักที่ดูแลเรื่องการผลิตภาคการเกษตรของประเทศ ที่สำคัญคือ ต้องรู้จำนวนพื้นที่ทำการเกษตรแต่ละชนิด ในทุกฤดูกาล โดยเฉพาะพืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าว ยาง ปาล์มน้ำมัน ยังเป็นปัญหาอย่างทุกวันนี้ ที่หน่วยงานในกระทรวงเกษตรฯ ยังมีข้อมูลไม่ตรงกับกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งนายกรัฐมนตรีถามย้ำในที่ประชุม ครม. เรื่องตัวเลขที่ไม่ตรงกันจะยึดของหน่วยงานใด
จากนี้ สศก. และหน่วยงานเกี่ยวข้องเมื่อประเมินสภาวะการผลิตทั้งในประเทศและต่างประเทศ หากเกิดภาวะภัยแล้งต้องตอบได้ว่า ฤดูกาลถัดไปเกษตรกรไทย ไม่ควรปลูกอะไร และต้องทำเกษตรกรรมใดที่ตลาดต้องการด้วย รวมทั้งประสานกับหน่วยงานทั้งระดับพื้นที่เพื่อสนับสนุนเกษตรกรลดต้นทุนการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพผลผลิต ปรับเปลี่ยนทำเกษตร จะทำให้เกษตรกรมีศักยภาพในการแข่งขันของตลาดและรู้เท่าทันสถานการณ์ ซึ่งที่ผ่านมาปัญหาการจัดการผลผลิตภาคเกษตรไม่สามารถทำแผนระยะยาวและวางรากฐานภาคเกษตรได้ สาเหตุหนึ่งมาจากขาดข้อมูลไม่แม่นยำ แล้วต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปเท่านั้น” นายกฤษฎา กล่าว
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ของรัฐบาล ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางลดความเหลื่อมล้ำ เกิดการกระจายรายได้ให้แก่ประชาชนทุกภาคส่วนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ด้วยแนวคิดดังกล่าว กรมส่งเสริมการเกษตรจึงดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในทุกจังหวัด โดยชูจุดขาย “ท่องเที่ยวธรรมชาติ วิถีชีวิตเกษตร เสน่ห์แห่งภูมิปัญญา” ดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้าสู่ชุมชนท้องถิ่น หวังก่อให้เกิดการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวสร้างชุมชนที่เข้มแข็งโดยลูกหลานไม่ต้องลำบากออกไปหางานนอกบ้าน ช่วยเพิ่มโอกาสขายสินค้าได้ภายในชุมชน ทำให้สังคมชนบทของไทยมีโอกาสเติบโตอย่างเข้มแข็งและยั่งยืนตามนโยบายรัฐบาล
ท่องเที่ยววิถีคลอง วิถีเกษตรเมืองราชบุรีท่องเที่ยว “วิถีคลอง วิถีไทยตามรอยเสด็จคลองดำเนิน” หนึ่งในเส้นทางการท่องเที่ยวการเกษตรที่กรมส่งเสริมการเกษตร โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดราชบุรี อยากชักชวนคนไทยลองหาเวลาว่างไปเที่ยวชมกัน
โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีคลอง วิถีเกษตร และประวัติศาสตร์ท้องถิ่นแห่งนี้นักท่องเที่ยวจะได้นั่งเรือ ล่องไปตามคลอง ชมบรรยากาศริมคลองอันร่มรื่น ชิลล์ลมไปตามสายน้ำ ตื่นตาตื่นใจกับประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม เรียนรู้การทำเกษตรผสมผสาน พายเรือตามร่องสวน ชิมผลไม้สดๆ จากสวนเกษตรแม่ทองหยิบ รับประทานอาหารที่ทำกันสดๆ จากวัตถุดิบที่มีในสวน และช็อปสินค้าของฝากติดไม้ติดมือไปฝากคนที่บ้านในราคาพื้นบ้านอีกด้วย
เส้นทางท่องเที่ยววิถีคลอง วิถีไทย ตามรอยเสด็จคลองดำเนินแห่งนี้ บริหารจัดการโดยชุมชน สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน นอกจากสร้างภาพลักษณ์การท่องเที่ยวมุมมองใหม่ๆ ให้กับชุมชนคลองดำเนินสะดวกแล้ว ยังสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยววิถีคลอง เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวในจังหวัดราชบุรีอีกด้วย
ปักหมุดเส้นทางท่องเที่ยววิถีคลองดำเนิน
สำนักงานเกษตรจังหวัดราชบุรี ได้ปักหมุด 4 ไฮไลท์ ในกิจกรรมเส้นทางท่องเที่ยววิถีคลอง วิถีไทย ตามรอยเสด็จคลองดำเนิน ประกอบด้วย1 วัดโชติทายการาม ตามรอยเสด็จ เรียนรู้ประวัติศาสตร์
รัชกาลที่ 4 ทรงโปรดให้ขุดคลองดำเนินสะดวกเพื่อเป็นเส้นทางสัญจร
รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต้นเสด็จประทับแรมที่วัด ทรงเยี่ยมเยียนราษฎร
รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เสด็จฯ ทอดพระกฐินต้น
พิพิธภัณฑ์เรือและพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่เชื่อมรอยวิถีไทย วิถีคลอง ตามรอยเสด็จคลองดำเนิน
มณฑป และเจดีย์โบราณที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมศิลปากร
ครูเพลง สุรพล สมบัติเจริญ เกาะเรือโยงมาขอเป็นลูกศิษย์วัด และแต่งเพลง ดำเนินจ๋า
2 บ้านมหาดเล็ก เจ๊กฮวด
ตื่นตาตื่นใจกับเมนูอาหารที่ทำถวายรัชกาลที่ 5 รับเสด็จประพาสต้นของรัชกาลที่ 5 ความผูกพันระหว่างพระมหากษัตริย์และราษฎรของพระองค์ผู้เป็นสหายหลวง
สวนเกษตรผสมผสานแม่ทองหยิบ ล่องเรือชมสวนศึกษาวิถีเกษตร มีการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของ รัชกาลที่ 9 มาปฏิบัติ เรียนรู้การปลูกไม้ผลแบบลดต้นทุนการผลิต ล่องเรือชมสวน และชิมผลไม้สดๆ
ตลาดเหล่าตั๊กลัก
ชมพิพิธภัณฑ์ ช็อปของฝาก ตลาดดั้งเดิมของอำเภอดำเนินสะดวก สามารถฟื้นฟูเป็นตลาดน้ำที่มีชีวิตดังอดีต ชิมอาหารพื้นถิ่น ชมการแสดงวัฒนธรรม อาทิ ผู้สูงอายุเล่นดนตรีอังกะลุง และมีนักร้องขับกล่อมเพลงสุรชัย สมบัติเจริญ ครูเพลงและผู้ประพันธ์เพลง ดำเนินจ๋า ในขณะเป็นเด็กวัดโชติทายการามช็อปสินค้าของฝาก และของที่ระลึก
สวนเกษตรแม่ทองหยิบ
แม่ทองหยิบเล่าว่า เมื่อ 40 ปีที่แล้ว พื้นที่ดำเนินสะดวกเป็นพื้นที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การทำสวน ปลูกพืชอายุสั้น เช่น หอมแดง พริก ถั่วลิสง ข้าวโพด เป็นต้น เนื่องด้วยเป็นที่ราบลุ่มช่วงฤดูฝนน้ำจะหลากมา จึงต้องปลูกพืชอายุสั้น นอกจากนี้ช่วงน้ำท่วมจะหาปลาหากิ่งไม้เก็บไว้เพื่อใช้สำหรับเป็นฟืนสำหรับใช้ในการหุงหาอาหาร
ด้วยภูมิปัญญาจึงคิดทำคันกั้นน้ำให้สูงขึ้น เพื่อคันจะได้กันน้ำไม่ให้ท่วมในสวน จึงสามารถปรับเปลี่ยนจากการปลูกพืชอายุสั้นมาปลูกไม้ผลยืนต้นได้ เพื่อจะได้เก็บเกี่ยวผลผลิตก่อให้เกิดรายได้ตลอดทั้งปี ทำให้วิถีชีวิตเปลี่ยนไป รายได้เพิ่มพูน และได้ปลูกไม้ยืนต้นสืบต่อมาจนถึงปัจจุบันรุ่นลูกๆ เมื่อสามารถทำสวนได้ทั้งปีไม่ว่าฤดูร้อน ฝน หนาว พวกเรามีงานเข้าสวนกันตลอดทั้งปี ทำให้มีรายได้ เรียกได้ว่าพวกเรามีกินมีใช้ตลอดทั้งปีกันเลยก็ว่าได้
ลูกของแม่… พี่ไพศาลเป็นนักคิดค้น ประกอบกับการชอบศึกษาค้นคว้าดัดแปลง และได้ไปเห็นต้นแบบในการทำสวนแบบผสมผสานจึงเกิดความสนใจ และได้นำมาปรับใช้กับส่วนของตนเอง พร้อมกับน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของ รัชกาลที่ 9 มาปฏิบัติประกอบด้วย จนเกิดเป็นสวนแบบผสมผสานสองฝั่งคลองที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP เกษตรปลอดภัย
สวนเกื้อกูลกัน
ล่องเรือตามร่องสวน ชมต้นมะนาว มะพร้าว ส้มโอ มะละกอ อุโมงค์ไม้เลื้อย และพืชผักสวนครัวเก็บกินได้ตามใจชอบแต่เดิมสวนฝั่งนี้เป็นสวนแบบเชิงเดี่ยว รายได้ ไม่ต่อเนื่อง พี่ไพศาลจึงหันมาทำแบบผสมผสานซึ่งสามารถผลิตผลผลิตได้ตามฤดูกาลได้ตลอด พี่ไพศาลได้คิดค้นการปลูกแบบผสมผสาน โดยใช้แนวคิดการปลูกแบบเกื้อกูลกัน มีพืชหลักของสวนฝั่งนี้คือ มะพร้าวกับส้มโอ มะพร้าวกับฝรั่ง มะพร้าวกับมะนาว และมีพืชอื่นแซมเข้ามาเรื่อยๆ
มะพร้าว เป็นพืชสารพัดประโยชน์ ใบให้ร่มเงา รากช่วยยึดดินคันร่องไว้ รากมะพร้าวช่วยดูดน้ำซับน้ำทำให้ดินแห้ง โดยธรรมชาติ รากส้มโอไม่ชอบดินแน่น ดินเหนียว แต่สภาพดินแห้งทำให้รากส้มโอ และมะนาว เดินหาอาหารได้สะดวก ทำให้บำรุงรักษาง่ายให้ผลผลิตที่ดี
ลำคลองอีกฝั่งหนึ่ง เป็นส่วนที่พี่ไพศาลภูมิใจนำเสนอกับการคิดค้น ทดลอง และดัดแปลงจากการไปศึกษาดูงานจากสถานที่ต่างๆ และนำมาปรับใช้ในที่ดินของตัวเองจนได้ผลที่ดี สามารถลดต้นทุนการผลิต ลดการใช้แรงงาน แปลงนี้ พี่ไพศาลปลูกมะนาวกับละมุด ซึ่งเป็นที่มาของแนวคิด “ต้นไม้กอดกัน” พากันให้ผลผลิต
พี่ไพศาลวิเคราะห์ธรรมชาติของต้นไม้ทั้งสองชนิดให้ฟังว่า ต้นละมุด เป็นพืชที่มีความทนทาน ผลมีผิวสากกระด้าง ทำให้แมลงศัตรูพืชคือ เพลี้ยไม่ชอบ ใบไม่เป็นราง่าย เพราะมีความหนาและแข็งรากต้นละมุดยังสามารถชอนไชดูดน้ำได้ดี ช่วยให้รากมะนาวมีทางเดินหาอาหารได้ดี จึงได้ผลผลิตที่ดีตามไปด้วย
หลายคนสงสัยว่า ทำไมต้องปลูกต้นละมุดกับต้นมะนาวติดกันพี่ไพศาลให้คำตอบว่า กิ่งของต้นละมุดนั้น ช่วยค้ำกิ่งก้านของต้นมะนาวแทนการใช้ไม้ค้ำ ทำให้ประหยัดแรงและไม่เสียเวลาไป ตัดไม้จากป่ามาใช้ค้ำยันต้น ลดแรงงาน ลดเวลาในการดูแลรักษา แถมได้ผลผลิตที่ดีอีกต่างหาก
หากใครผ่านไปจังหวัดราชบุรี อย่าลืมแวะไปท่องเที่ยว “วิถีคลอง วิถีไทยตามรอยเสด็จคลองดำเนิน” ไปสูดอากาศบริสุทธิ์ ท่ามกลางธรรมชาติให้เต็มปอดพร้อมเรียนรู้วิถีชีวิตที่เรียบง่าย ล่องเรือชมบรรยากาศเงียบสงบและร่มรื่นด้วยแมกไม้เก็บผลไม้รสอร่อยจากต้นด้วยมือคุณเอง เชื่อว่าคุณและคนที่คุณรักจะประทับใจทริปท่องเที่ยวธรรมชาติใกล้เมืองแห่งนี้อย่างแน่นอน
ด้วยกระแสการเสนอกฎหมายให้กัญชา และพืชกระท่อมทางการแพทย์ ที่มีผลบังคับใช้ไปแล้วนั้น มีการเผยแพร่พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2562 โดยมีเหตุผลในการประกาศใช้ เนื่องจากพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน และมีบางบทบัญญัติบางประการไม่ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน ประกอบกับปรากฏผลการวิจัยว่า สารสกัดจากกัญชาและพืชกระท่อมมีประโยชน์ทางการแพทย์เป็นอย่างมาก ซึ่งหลายประเทศทั่วโลก ได้แก้กฎหมายเพิ่มเติมเพื่อเปิดโอกาส อนุญาตให้ประชาชนใช้กัญชาและพืชกระท่อมเพื่อประโยชน์ในการรักษาโรค และประโยชน์ทางการแพทย์ได้ เนื่องจากพ.ร.บ.ยาเสพติด พ.ศ. 2522 จัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ห้ามเสพ หรือนำไปใช้ในการบำบัดรักษาผู้ป่วย ซึ่งกำหนดโทษทั้งผู้เสพและครอบครอง
ประเทศไทย ถือเป็นชาติแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่อนุญาตให้ใช้กัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ และการวิจัยปลายปี พ.ศ. 2561 รัฐบาลเร่งปลดล็อคกฎหมายใช้กัญชาทางการแพทย์ และทาง “วิป สนช.” ก็คาดหวังว่าจะให้การบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวเป็น “ของขวัญปีใหม่แก่ประชาชน” ส่วนที่เห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม ก็มีนโยบายของบางพรรคการเมืองที่ประกาศสนับสนุนการปลูกกัญชาเป็นพืชรายได้ในครัวเรือน ภายใต้ข้อกำหนดตามกฎหมาย
อีกทั้งมีทีมนักวิจัยที่คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับกัญชา แต่ได้เพียงในหลอดทดลองและกับสัตว์เท่านั้น ถ้าหากมีกฎหมายอนุญาตให้ทดลองกับมนุษย์ได้ ก็จะทำให้มีการค้นพบยาใหม่จากสารในกัญชา ซึ่งมีถึง 2 ชนิด ถ้าหากเป็นไปตามข้อเสนอปลดล็อคกฎหมาย ก็เชื่อว่าประเทศไทยก็จะไม่ต้องสูญเสียผลประโยชน์มูลค่านับแสนล้าน
“จากกัญชา มา “กัญชง” ลงแปลงปลูก” หลายคนอาจจะสับสนกับคำว่า “กัญชง” หากไม่เคยได้ยินมาก่อนก็คิดว่าเขียนคำผิด หรือสะกดสระอา เป็น ง (งู) แต่ด้วยข้อมูลเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ที่เป็นสินค้าระดับมีชื่อดีเด่นในด้าน “สิ่งทอ” ทำให้เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปมากขึ้นในแวดวงอุตสาหกรรม
หรือถ้าหากมีคนจะสืบสาวเล่าเรื่องในเชิงประเพณีวัฒนธรรม ก็คงจะต้องกล่าวถึง “ชาวม้ง กับกัญชง” เนื่องจากกัญชงเป็นพืชพื้นบ้านที่ชาวม้งสัมผัสตั้งแต่เกิดจนตาย เพราะในชนเผ่าเชื่อกันว่า เป็นพืชที่เทพเจ้าประทานแก่ชาวม้ง โดยในภาษาม้ง เรียกกันว่า “หมั้ง” หรือ “ม่าง” เชื่อว่าเทพเจ้าสร้างโลกและสร้างมนุษย์ ได้ประทานพันธุ์สัตว์ พันธุ์พืช มาให้มนุษย์ได้ใช้เป็นปัจจัย 4 และใช้ในพิธีกรรม
โดยชาวม้งได้ลอกเปลือกกัญชงแล้วนำเส้นใยมาต่อกันเป็นเส้น ทำเป็นเส้นด้าย และเส้นเชือก รวมทั้งใช้สานเป็นรองเท้าของคนตาย เพื่อเดินทางไปสู่สวรรค์ ทำเป็นด้ายสายสิญจน์ในพิธีกรรมต่างๆ ตลอดจนทอผ้าเครื่องนุ่มห่ม โดยเฉพาะในพิธีอัวเน้ง หรือพีเข้าทรง
กัญชง เป็นพืชที่มีเส้นใยเหนียว เหมาะที่จะแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอ อาจจะเคยได้ยินคำว่า “เฮมพ์” (hemp) ในแวดวงวิชาการก็คือ กัญชงที่เรากำลังกล่าวถึงนั่นเอง ถิ่นกำเนิดมาจากอินเดีย ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเทือกเขาหิมาลัย พบว่า มีมากกว่า 30 ประเทศทั่วโลก ผลิตเฮมพ์ในเชิงอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ในประเทศจีน แคนาดา และสหภาพยุโรป ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา